อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ผลงานทางวิชาการ
นายพินิจ บุญช่วย

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                  ผลการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและ

                             สถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียน

                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดแหลมทราย)

                             อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

 

ผู้วิจัย                     นายพินิจ บุญช่วย

สถานที่ทำงาน         โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ปีการศึกษา              2557

 

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ( Quasi experimental design ) ชนิด One group pretest-posttest design  เพื่อพัฒนาและศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ก่อนและหลังการสอนโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน  เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น 3)แบบประเมินทักษะการแสดงคุณค่างานทัศนศิลป์ และ 4)แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน  ดำเนินการวิจัยโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน 14 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที  โดยทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน  รวมทั้งประเมินทักษะการแสดงคุณค่างานทัศนศิลป์และความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน  วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ใช้สถิติทดสอบค่าที (Dependent t-test)  เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 

 

      ผลการวิจัยพบว่า

ชุดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมใน

ท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการ

เรียนรู้  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้  โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้

ทักษะการแสดงคุณค่างานทัศนศิลป์ภายหลังการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง

คุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน อยู่ในระดับ ดี

ความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและ

สถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงานภายหลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ มากที่สุด

 

ข้อเสนอแนะ  : ควรศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ และศิลปศึกษาอื่น ๆ

 

คำสำคัญ       : การเรียนรู้แบบโครงงาน  คุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น